รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศานา

Image result for ศาสนา


ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า สัมพันธ์หรือ ผูกพันซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธา
2. ศาสนามาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสฤกตว่า ศาสนตรงกับคำในภาษาบาลีว่า   สาสนแปลว่า คำสั่งสอนหรือ การปกครองโดยมีความหมายตามลำดับ ดังต่อไปนี้
2.1 คำสั่งสอน แยกได้เป็น คำสั่งอันหมายถึงข้อห้ามทำความชั่วที่เรียกว่า ศีลหรือวินัย และเป็น คำสอนอันหมายถึงคำแนะนำให้ทำความดีที่เรียกว่า ธรรม เมื่อรวม คำสั่งและ คำสอนเข้าด้วยกัน จึงหมายถึง ศีลธรรม นั่นคือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่วและคำแนะนำให้ทำความดี
ศาสนาจึงหมายถึง ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ
องค์ประกอบของศาสนา

ศาสนา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง หรือผู้ประกาศศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ  พระนบี มุฮัมมัด เป็นศาสดาของศาสนาอิสลาม เป็นต้น

Image result for ศาสนา คัมภีร์Image result for ศาสนา คัมภีร์
2. ศาสนาธรรม คัมภีร์ หรือหลักคำสอน คำสอนของศาสดาถูกรวบรวมไว้เป็นหมดหมู่และจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกของศาสนาพุทธ และคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ เป็นต้น ศาสนาทุกศาสนาย่อมมีหลักคำสอนของตน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ศาสนิกชนเป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข

3. ศาสนบุคคล ทุกศาสนาย่อมมีบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน เช่น ศาสนาพุทธมีภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชน ศาสนาอิสลาม ไม่มีนักบวชเหมือนศาสนาอื่น ๆ แต่มี อิหม่ามเป็นผู้นำในการประกอบศาสนกิจ และมีศาสนิกชนหรือประชาชนผู้นับถือที่เรียกว่า มุสลิมเป็นต้น
4. ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนาส่วนใหญ่ เน้นการกระทำให้มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อถือเลื่อมในศรัทธา เช่น พิธีสวดมนต์ไหว้พระของชาวพุทธ หรือการทำละหมาดของชาวมุสลิม เป็นต้น
5. ศาสนวัตถุ ศาสนาส่วนใหญ่มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายของศาสนา เพื่อสื่อสารให้ ศาสนิกชนพวกเดียวกันเข้าใจตรงกัน เช่น ศาสนาคริสต์มีสัญลักษณ์เป็นรูปไม้กางเขน ศาสนาพุทธมีสัญลักษณ์เป็นธรรมจักรและกวางหมอบ (หรือแม้แต่พระพุทธรูป เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ)
6. ศาสนสถาน เป็นสถานที่ที่ศาสนิกชนมาชุมนุมปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน หรือเผยแผ่หลักคำ สอน เช่นวัดในศาสนาพุทธ โบสถ์ในศาสนาคริสต์ และมัสยิดในศาสนาอิสลาม เป็นต้น
ประเภทของศาสนา
1. เทวนิยม เชื่อว่ามีพระเจ้า และนับถือพระเจ้าซึ่งพระเจ้านั้นเป็นทั้งผู้สร้างและกำหนดสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์โดย ที่ศาสนเทวนิยมยังสามารถจำแนกได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
   1.1 เอกเทวนิยม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ยูดาย คริสต์ อิสลาม ซิกข์ เป็นต้น
   1.2 พหุเทวนิยม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2. อเทวนิยม  ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า และเชื่อว่าทุกสิ่งนั้น ถ้าไม่เกิดจาก มนุษย์สร้าง ก็จะเป็น ธรรมชาติที่สร้างขึ้นม และเชื่อมั่นในศักยภาพของ มนุษย์ เช่น พุทธ เชน เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน