บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง สาราณียธรรม 6 อธิปไตย 3

รูปภาพ
สาราณียธรรม 6 ที่มา http://thaihealthlife.com/สาราณียธรรม6, นรฤทธ์ิ สุทธิสังข์ (2555)อ้งถึงในเอกสารหลายฉบับ,อธิปไตย 3             สาราณียธรรม 6  หมายถึง ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ สาราณียธรรม 6 สำหรับฆราวาส 1. เมตตากายกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเช่น แสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง 2. เมตตาวจีกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ พูดกันด้วยเมตตา หมายถึง จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว 3. เมตตามโนกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161

รูปภาพ
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                            ภาคเรียนที่ ๑         รายวิชาประวัติศาสตร์                         รหัสวิชา ส ๒๒๑๖๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒                                                                    เวลา  ๒๐  ชั่วโมง จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต                                                                ๑ คาบ/สัปดาห์             ศึกษาวิธีการท างประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน  ประเภทของข้อมูล  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองหรือหลักฐานสมัยอยุธยา  วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาระต่างๆ  สมัยอยุธยาและธนบุรี    เช่น  ข้อความบางตอนในพงศาวดารหรือจดหมายเหตุชาวต่างชาติ  ตลอดจนศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของแหล่ง   อารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย  (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)            โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์  วิเคราะห์  สังเคราะห์ และประเมินความน่าเชื่อถือ      ของข้อเท็จจริง   และอธิบายพัฒนาของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์           เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุ

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน

รูปภาพ
การประเมินคุณค่าของหลักฐาน การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน             การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์            วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 1. การประเมินภายนอก           การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่            1. อายุของหลักฐาน  การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ            2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน  การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่            3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน  การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเ

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง "กามโภคี 10 พวก"

รูปภาพ
กามโภคี 10 (ผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ — enjoyers of sense-pleasures; laymen; householders) .....ท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐีท่านนี้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้ความสนิทสนม แล้วก็เทศน์เรื่องกามโภคีให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังถึงกามโภคีบุคคลประเภทต่างๆ คือ .....๑. กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม คือหาด้วยการทำงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย และยังไม่ทำบุญ เรียกว่าหากก็ไม่ฉลาด ใช้ก็ไม่ฉลาด ทั้งเก็บก็ไม่ฉลาด แต่กลับเก็บเอาบาปไว้ .....๒. กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้งแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ อย่างนี้เรียกว่าโง่ในการหา แต่ว่าฉลาดใช้หน่อย แต่พอถึงตอนเก็บ ก็เก็บไม่ฉลาดอีก .....๓. กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้วบำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่ายทำบุญ ประเภทนี้หาแบบโง่ แต่ใช้ฉลาด เก็บฉลาด .....๔. กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม คือเอาทั้งนั้นไม่ว่าจะชอบธรรมและไม่ชอบธรรม อา