บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่องที่ ๒ พุทธประวัติ

รูปภาพ
สรุปการตรัสรู้        พระสิทธัตถะ ได้เสด็จอยู่ตามลำพังทรงฝึกฝนอบรมจิตให้สงบ และในเช้ากลางเดือน 6 ทรงรับข้าว “ มธุปายาส ” จากนางสุชาดา ซึ่งเข้าใจว่าพระองค์ว่าเป็นเทพยดาจึงนำข้าวมธุปายาสไปถวาย หลังจากเสวยแล้วพระองค์ได้ทรงลอยถาดในแม่น้ำ เนรัญชรา ทรงรับหญ้าคา 8 กำ จากนายโสตถิยะมาปูลาดเป็นอาสนะ (ที่นั่ง) ณ โคนต้นโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ ไปทางทิศตะวันออก แล้วทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า ถ้าไม่สำเร็จทางพ้นทุกข์จะไม่ยอมเสด็จลุกไปไหนถึงแม้เนื้อและเลือด จะเหือดแห้งก็ตาม ทรงพิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติทั้งหลายจนเกิดญาณ (การหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง) สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้เรียกว่า อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) พระสิทธัตถะ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา วิเคราะห์การตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนา        พระพุทธศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และคำสั่งสอนนี้ ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือเรื่องของความจริง ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นแต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ แล้วนำมาชี้แจงเปิ

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

รูปภาพ
ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา                   ประธานาธิบดีอับราฮัม สินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงวาทะเกี่ยวกับคำว่า ประชาธิปไตยไว้ว่า “เป็นการปกครองชองประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” จากวาทะดังกล่าว เราอาจสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้อย่างกว้าง ๆ ว่า เป็นการปกครองที่ถือว่าบุคคลทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกฐานะและทุกอาชีพ มีเสรีภาพ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมืองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการปกครองและการดำเนินชีวิตของตนเอง                   โดยทั่วไปถือว่า ประเทศกรีกเป็นต้นกำเนินการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มต้นจากการที่ไซโลมอน (594 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก่ไขรัฐธรรมนูญจัดตั้งศาลประชาชนขึ้นมาภายหลังคริสเธนิส (509 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญของนครรัฐกรีกอีก ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น และในยุคต่อมาเมื่อ 461 ปีก่อน ค.ศ. เบริคลัส ได้แก้ไขลักษณะการเมืองการปกครองของนครรัฐให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น ชาวกรีกทุกคนสามารถวิจารณ์การบบริหารงานของผู้ปกครองนครรัฐได้โดยไม่ถือเป็นความผิด การตัดสินใจกระทำการใดใช้วิธีลงมติแล้วทำตามเสียงข้า

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศานา

รูปภาพ
ความหมายของศาสนา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1 . ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า “ สัมพันธ์ ” หรือ “ ผูกพัน ” ซึ่งหมายถึง “ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ” (Man and God) หรือ “ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า ” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธา 2 . ศาสนามาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสฤกตว่า “ ศาสน ” ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า    “ สาสน ” แปลว่า “ คำสั่งสอน ” หรือ “ การปกครอง ” โดยมีความหมายตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 2.1 คำสั่งสอน แยกได้เป็น “ คำสั่ง ” อันหมายถึงข้อห้ามทำความชั่วที่เรียกว่า ศีลหรือวินัย และเป็น “ คำสอน ” อันหมายถึงคำแนะนำให้ทำความดีที่เร

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.1 เรื่อง การสังคายนาในศาสนาพุทธ

รูปภาพ
สังคายนาในศาสนาพุทธ             ใน ศาสนาพุทธ   สังคายนา ( บาลี :  สํคายนา ) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า  วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง  สวดพร้อมกัน  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนา พระธรรม วินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุม พระสงฆ์  จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป จุดประสงค์ของการสังคายนา         จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการสังคายนา คือการรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อธำรงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ไม่ให้สูญหายหรือวิปลาสคลาดเคลื่อนไป เพราะพระธรรมวินัยนั้นคือหลักของ พระพุทธศา