รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่องการสังคยานา


Image result for การสังคายนา

การสังคายนา
 คำว่า  สังคายนา  หรือ  สังคีติ  แปลว่า  การสวดพร้อมกันหรือร่วมกันสวด  โดยความหมาย  คือ  การร้อยกรองพระธรรมวินัย  ดังนั้นการสังคยานาจึงได้แก่  การรวบรวมพระธรรมวินัย  ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  เพื่อสอบทานความถูกต้องตรงกัน  และจัดเป็นหมวดหมู่  เพื่อง่ายต่อการท่องจำ  การศึกษา  และการเผยแพร่
 สาเหตุของการสังคายนา  
          ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  พระพุทธวจนะที่พระองค์ได้ตรัสตามโอกาสและเหตุการณ์ต่างๆ  ตลอดพระชนม์ชีพ  ส่วนมากจะมีการสืบทอดโดยการท่องจำและการบอกเล่าที่เรียกว่า  มุขปาฐะ  อย่างไรก็ตามการทรงจำพระธรรมวินัยจะมากน้อยย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของพระสาวกแต่ละรูป  ในชั้นต้นพระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ยังมีอยู่มาก  ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในพระธรรมวินัยย่อมไม่เกิดขึ้น  แต่ต่อมาเมื่อพระอรหันตสาวกมีลดน้อยลง  ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระธรรมวินัยมีมากขึ้น
 ประโยชน์ของการสังคายนา
          การสังคายนาก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัท  ดังนี้
๑)  กำจัดและป้องกันพวกอลัชชีไม่ให้ปลอมเข้ามาบวช  เพื่ออาศัยพุทธศาสนาแสวงหาผลประโยชน์
๒)  สร้างความเข้าใจในพระธรรมวินัยให้ถูกต้องตรงกันในหมู่พุทธบริษัท  อันเป็นการรักษาความบริษัทของพระพุทธวจนะให้สืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
๓)  ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญ  มั่นคงแพร่หลาย  และทำให้เกิดพระไตรปิฎก  อันเป็นคัมภีร์ที่สำคัญต่อการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนา

 ประวัติการสังคายนา
          ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีสองนิกายหลัก  คือ  นิกายเถรวาทและนิกายมหายาน  การนับจำนวนครั้งในการสังคายนาพระไตรปิฏกจึงไม่ตรงกัน  อย่างไรก็ตาม  การสังคายนาได้กระทำติดต่อกันมาหลายครั้ง  ทั้งที่ในอินเดียและประเทศอื่นๆ  รวม  ๑๐  ครั้ง  ดังนี้

 ครั้งที่

 ระยะเวลา

 สถานที่

มูลเหตุ 

ผู้เข้าประชุม 

 1

 - หลังพุทธปรินิพพาน
   ๓ เดือน
 - ใช้เวลา  ๗  เดือน
   จึงสำเร็จ

 - ถ้ำสัตตบรรณคูหา 
   เขาเวระ
   กรุงราชคฤห์
   ประเทศอินเดีย 
 -พระสุภัททะดูหมิ่น
   พระธรรมวินัย 

 - พระอรหันตสาวก  จำนวน  
   ๕๐๐  รูป
 - พระมหากัสสปะเป็นประธาน
 - มีพระเถระองค์สำคัญ คือ  
   พระอานนท์  พระอุบาลี  เป็นต้น
 - พระเจ้าอาชาตศัตรู  ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 2 - พ.ศ.๑๐๐
 - ใช้เวลา  ๘ เดือน
   จึงสำเร็จ
 - วาลิการาม
   เมืองเวสาลี
   ประเทศอินเดีย
 - พระวัชชีบุตร
   ประพฤติย่อหย่อน
   ทางพระวินัย ๑๐
   ประการ
 - ประชุมสงฆ์  ๗๐๐ รูปโดยการ
   ชักชวนของพระยสกากัณฑกบุตร
 - พระเจ้ากาฬาโศกทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 3 - พ.ศ.๒๓๔ 
   (บางแห่งว่า ๒๓๕)
 - ใช้เวลา ๙ เดือน
   จึงสำเร็จ
 - อโศการาม
   เมืองปาฏลีบุตร
   ประเทศอินเดีย
 - เดียรถีย์ปลอมบวช
   และแสดงพระธรรม-
   วินัยผิดเพี้ยนจาก
   หลักพระพุทธศาสนา
 - ประชุมสงค์  ๑๐๐๐ รูป
 - พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นแกนนำ
 - พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 4 - พ.ศ.๒๓๘
 -ไม่ปรากฎระยะ
   เวลาที่กระทำ
 - ถูปาราม
   เมืองอนุราธปุระ
   ประเทศศรีลังกา
 - วางรากฐาน
   พระพุทธศาสนา
   ในประเทศศรีลังกา
 - ประชุมสงฆ์  ๖๘๐๐๐ รูป
 - พระมหินทเถระเป็นประธาน
 - พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 5 - พ.ศ.๔๓๓ 
   (บางแห่งว่า ๔๕๐)
 - ไม่ปรากฎระยะเวลา
   ที่กระทำ
 - อาโลเลณสถาน
   มาตเลชนบท
   (มลัยชนบท)
   ประเทศศรีลังกา
 - จารึกพระพุทธวจนะ
   เป็นลายลักษณ์อักษร
 - พระสงฆ์ชาวลังกา
 - พระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน
 - พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 6 - พ.ศ.๙๕๖
 - ไม่ปรากฎระยะเวลา
   ที่กระทำ
 - วัดมหาวิหาร
   ประเทศศรีลังกา
 - ชำระพระอรรถกถาที่
   พระพุทธโฆษาจารย์
   เรียบเรียงจากภาษา
   สิงหลเป็นภาษาบาลี
 - พระพุทธโฆษาจารย์ร่วมกับพระสงฆ์แห่งวัดมหาวิหาร
 - พระเจ้ามหานามทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 7

 - พ.ศ.๑๕๘๙
 - ไม่ปรากฎระยะ
   เวลากระทำ
 - ประเทศศรีลังกา - รจนาคัมภีร์ฎีกา
   ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบาย
   คัมภีร์อรรถกถา  เพื่อ
   ประโยชน์แก่การศึกษา
   พระพุทธศาสนา
 - พระกัสสปะเถระเป็นประธาน
 - พระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนา  จำนวน ๑๐๐๐ รูป
 - พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชทรงเป็นอุปถัมภ์
 8 - พ.ศ.๒๐๒๐
 - ใช้เวลา ๑ เดือน
   จึงสำเร็จ
 - วัดโพธาราม
   ประเทศไทย
   (ครั้งแรก)
 - ชำระอักษรใน
   พระไตรปิฎกที่ยัง
   ขาดตกบกพร่อง
 - พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่
 - อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงภูมิใน
   พระไตรปิฎกหลายร้อยรูปเข้าประชุม
 - พระธรรมทันนเถระเป็นประธาน
 9 - พ.ศ.๒๓๓๑
 - ใช้เวลา ๕ เดือน
   จึงสำเร็จ
 - วัดนิพพานาราม
   (วัดมหาธาตุยุว-
   ราชรังสฤษฎิ์)
   ประเทศไทย
   (ครั้งที่ ๒)
 - พระเถระผู้ใหญ่
   ประพฤติผิด
   พระธรรมวินัย
   รัชกาลที่ ๑ มี
   พระราชประสงค์ให้
   ชำระพระไตรปิฎก
 - พระสงฆ์จำนวน ๒๑๘ รูป 
   ราชบัณฑิต คฤหัสถ์จำนวน ๓๒ คน
 - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-
   จุฬาโลกมหาราชทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
 10 - พ.ศ.๒๕๒๘
 - ไม่ปรากฎระยะ
   เวลากระทำ
 - วัดมหาธาตุยุว-
   ราชรังสฤษฎิ์
   กรุงเทพมหานคร
   ประเทศไทย
  (ครั้งที่ ๓)
 - ชำระพระไตรปิฎก
   และจัดพิมพ์ใน
   วโรกาส  รัชกาลที่ ๙
   จะทรงเจริญพระชนม-
   พรรษา  ๖๐ พรรษา
   ใน พ.ศ.๒๕๓๐
 - สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธาน
 - ประชุมสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย
 - รัฐบาลไทยอุปถัมภ์
 วิธีการสังคายนา
          การสังคายนาจะเริ่มจากการประกาศสมมติตนเป็นผู้ถาม  (ปุจฉา)  และผู้ตอบ  (วิสัชนา)  โดยผู้ถาม  จะสอบถามพระวินัยแต่ละข้อตามลำดับ  เมื่อผู้ตอบตอบแล้ว  พระสงฆ์ที่เข้าร่วมประชุมจะสวดพระธรรมวินัยข้อนั้นพร้อมกัน  เมื่อตรงกัน  ไม่ผิดพลาด  และที่ประชุมสงฆ์รับว่าถูกต้องแล้ว  จึงถามข้ออื่นต่อไปจนจบพระวินัยปิฎก  หลังจากนั้น  จะเริ่มสังคายนาพระสูตรเป็นลำดับถัดมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน