คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161



Related image
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                         ภาคเรียนที่ ๑        รายวิชาประวัติศาสตร์                         รหัสวิชา ส ๒๒๑๖๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒                                                              
     เวลา  ๒๐  ชั่วโมง
จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต                                                                ๑ คาบ/สัปดาห์

            ศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน  ประเภทของข้อมูล  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองหรือหลักฐานสมัยอยุธยา  วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาระต่างๆ  สมัยอยุธยาและธนบุรี    เช่น  ข้อความบางตอนในพงศาวดารหรือจดหมายเหตุชาวต่างชาติ  ตลอดจนศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของแหล่ง   อารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย  (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) 
          โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์  วิเคราะห์  สังเคราะห์ และประเมินความน่าเชื่อถือ      ของข้อเท็จจริง   และอธิบายพัฒนาของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
          เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีเหตุผล     ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทยใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

รหัสตัวชี้วัด
          ส ๔.๑ ม.๒/๑      ส ๔.๑ ม.๒/๒   ส ๔.๑ ม.๒/๓    ส ๔.๒ ม. ๒/๑
          ส ๔.๒ ม. ๒/๒

รวมทั้งหมด  ๕  ตัวชี้วัด


โครงสร้างรายวิชา
ส๒๒๑๖๑                                                                  ประวัติศาสตร์ ๓
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  ภาคเรียนที่ ๑
เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                                                        จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

ที่
ชื่อหน่วย
การเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ
เวลา
(ชั่วโมง)
น้ำหนัก
คะแนน
ปฐมนิเทศ
-
การแบ่งยุคสมัยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
ส ๔.๑ม.๒/๑




ส๔.๑ม.๒/๒








ส๔.๑ม.๒/๓
๑.  วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ เช่น  การศึกษาภูมิหลังของผู้ทำ  หรือผู้เกี่ยวข้องสาเหตุ  ช่วงระยะเวลา  รูปลักษณ์ของหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์  เป็นต้น
๒.  ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองหรือหลักฐานสมัยอยุธยา 
๓. ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาและธนบุรี  เช่นข้อความบางตอน  ในพระราชพงศาวดารอยุธยาจดหมายเหตุชาวต่างชาติ
๔. การแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น  รวมทั้งความจริงกับข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๕.  ตัวอย่างการตีความข้อมูลจากหลักฐานที่แสดงเหตุการณ์สำคัญในสมัยอยุธยาและธนบุรี
๖. ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความทางประวัติศาสตร์
๒๕
สอบกลางภาค
-
๒๐




ที่
ชื่อหน่วย
การเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ
เวลา
(ชั่วโมง)
น้ำหนัก
คะแนน
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย










ส ๔.๒ม.๒/๑



ส ๔.๒ม.๒/๒




๑.  ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของ
ภูมิภาคต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ( ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ) ที่มีผลต่อพัฒนาการ  โดยสังเขป
๒. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์  สังคม  เศรษฐกิจ  และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย  ( ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ )  
๓.  ที่ตั้งและความสำคัญของแหล่งอารยธรรมตะวันออกและแหล่งมรดกโลกในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย
๔. อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่มีต่อภูมิภาคเอเชียในปัจจุบัน
๑๐
๒๕
สอบปลายภาค
-
๓๐
รวมตลอดภาคเรียน
๒๐
๑๐๐




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน