รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง สาราณียธรรม 6 อธิปไตย 3

สาราณียธรรม 6
ที่มา http://thaihealthlife.com/สาราณียธรรม6,นรฤทธ์ิ สุทธิสังข์ (2555)อ้งถึงในเอกสารหลายฉบับ,อธิปไตย 3



            สาราณียธรรม 6 หมายถึง ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ
สาราณียธรรม 6 สำหรับฆราวาส
1. เมตตากายกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเช่น แสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง
2. เมตตาวจีกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ พูดกันด้วยเมตตา หมายถึง จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว
3. เมตตามโนกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี และคิดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เช่น ตั้งจิตปรารถนาที่จะทำคุณงามความดี คิดมั่นในการสร้างบุญกุศล และมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความหวังดี
4. สาธารณโภคี แห่งสาราณียธรรม 6 คือ แบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม หมายถึง แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกัน หาร่วมกันทำโดยยุติธรรมแม้สิ่งของที่ได้มาจะน้อย แต่ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วถึงกันนั้น คือ การร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน
5. สีลสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความประพฤติเสมอภาคกัน หมายถึง ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนอย่างมีระเบียบวินัยเหมือนผู้อื่น ไม่ประพฤติตนในทางแตกแยกจนเป็นที่ขัดข้องหมองใจต่อผู้อื่นหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
6. ทิฏฐิสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความเสมอภาคกันทางความคิด และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น หมายถึง ปรับความคิดความเห็นให้มีเหตุมีผลถูกต้องเหมือนกับผู้อื่น และหมู่คณะภายใต้เหต และผลในทางที่ดีงาม พร้อมกับเคารพเหตุผล ยึดหลักความดีงามเป็นอุดมคติอย่างสม่ำเสมอ

อธิปไตย 3 และทางสายกลางแห่งอธิปไตย 3

                   อธิปไตย หมายถึง ความเป็นใหญ่ อันเป็นสิทธิ์หรืออำนาจในตัวบุคคลที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ทั้งในลักษณะของการเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง และผู้ปฎิบัติ อันจะทำให้สังคมเจริญ และเกิดความสงบสุขอธิปไตยมีอยู่ในคนเราทุกคน โดยเฉพาะที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ประชาชนได้รับหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม และความสงบสุขในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตย และได้มอบอธิปไตย
                 อธิปไตย 3 ถือเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ให้สติต่อผู้ที่เป็นผู้นำอย่างดี เพราะความเป็นใหญ่นี้ให้แก่ผู้นำ อาทิ นักการเมืองหรือตัวแทนเข้าไปใช้ในการบริหารแทนตน โดยมีเป้าหมาย คือ ให้ประเทศชาติมีความสงบสุข และสังคมเกิดความร่มเย็น โดยหลักการซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองที่ดี ปรากฏอยู่ในอธิปเตยยสูตร หรือเรียก อธิปไตย 3
อาธิปเตยยสูตร
1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย คือ ผู้มีตนเป็นใหญ่ โดยการใช้สิทธิ์หรืออำนาจแห่งตนในการกระทำสิ่งใดๆ โดยผู้มีตนเป็นใหญ่จะต้องมีสติเป็นจุดเริ่มต้น และมีปัญญาเจริญควบคู่
2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
โลกาธิปไตย คือ ผู้มีโลกเป็นใหญ่ โดยการมีปัญญารักษาตน รู้จักพินิจ และเข้าใจถึงจิตของผู้อื่นด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่มีอคติในผู้อื่น เป็นผู้ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
3. ธรรมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
ธรรมาธิปไตย คือ ผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ด้วยการประพฤติในหลักธรรมคำสอน ละซึ่งอกุศลกรรมที่มีโทษ บำเพ็ญกุศลกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดได้
อรรถาธิบายอธิปไตย 3
1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดขึ้นอยู่กับบุคคลคนเดียว ซึ่งหมายความว่า บุคคลคนเดียวเป็นศูนย์รวมแห่ง อำนาจการปกครองบ้านเมืองทั้งหมด ในอำนาจ 3 ทาง
1) อำนาจบริหาร
2) อำนาจตุลาการ
3) และอำนาจนิติบัญญัติ
        อำนาจ 3 ทางนี้ หากรวมอยู่ที่บุคคลคนเดียวกัน บุคคลอื่นเพียงเป็นผู้รับสิ่งหรือนโยบายไปปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของอำนาจเท่านั้น จึงเรียกว่า ระบบกษัตริย์แบบสมบูรณาสิทธิราชย์ อันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจการปกครอง หากเป็นระบบสาธารณรัฐ ประมุขหรือประธานประเทศ หรือประธานาธิบดี จะเป็นศูนย์รวมอำนาจ ซึ่งมักจะเรียกระบบนี้ว่า เป็นระบบเผด็จการ
ลักษณะผู้ไม่มีอัตตาธิปไตยที่ดี
– เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
– สำคัญผิดในแนวคิดของตนเอง
– เป็นผู้ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
– มุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน
– หวังแต่ประโยชน์จากผู้อื่น
2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
โลกาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดขึ้นอยู่กับความเห็นของคนหมู่ของคนส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่า ประชาชน คนส่วนใหญ่ มีความเห็นอย่างไรก็ถือเอาตามนั้น โลกาธิปไตยนี้ ปัจจุบันมีใช้ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถ้าเป็นประเภทประชาธิปไตยโดยตรงก็จะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับนโยบาย การจัดการ การบริหารบ้านเมือง โดยประชาธิปไตยโดยตรงจะนำมาใช้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่วนประชาธิปไตยประเภทโดยอ้อม ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน กล่าวคือ เมื่อไม่สามารถนำประชาชนมาประชุมแสดงความคิดเห็นพร้อมกันได้ทั้งประเทศ ก็ให้ประชาชนเหล่านั้นเลือกตัวแทนของตนขึ้นมาทำหน้าที่แทนตน ตัวแทนเหล่านั้นออกเสียงหรือลงคะแนนเสียงจับสลาก แสดงความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความคิดเห็นของบุคคลหรือมติมหาชนที่คัดเลือกผู้ใดในชุมชนคนของตนเองที่คัดเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกกันเข้ามาหรือเลือกตนมา
ลักษณะผู้ไม่มีโลกาธิปไตยที่ดี
– เชื่อข่าวสารหรือผู้อื่นอย่างไร้เหตุผล
– ขาดความรู้ ขาดประสบการณ์
– หลอกลวงเพื่อหวังประโยชน์จากส่วนรวม
– ลุ่มหลงหรืองมงายง่าย
– หลงใหลในวัตถุหรือค่านิยม
3. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
ธัมมาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดอันอยู่กับ “ธรรมะ” คือ ความถูกต้องโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่หรือคนส่วนน้อยหรือแม้จะเป็นความเห็นของบุคคลคนเดียว (ปัจเจกชน) ถ้าเป็นความเห็นที่ชอบธรรมหรือเป็นความเห็นที่ถูกต้องก็เห็นพ้องตามสิ่งนั้น
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องธัมมาธิปไตยว่าประเสริฐสุดดีที่สุด ส่วนโลกาธิปไตยก็ยังดีกว่าเอกาธิปไตยจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตำหนิระบบเผด็จการที่เป็นเอกาธิปไตย ถ้าเผด็จการนั้นยึดมั่นในคูณธรรม ในเหตุในผลอันถูกต้อง มีความเป็นธรรม และมีความยุติธรรมต่อประชาชนเหมือนกับพ่อปกครองลูก และทรงมิได้ยกย่องว่าระบอบประชาธิปไตย หรือ โลกาธิปไตย เป็นระบบการปกครองที่ประเสริฐสุด เพราะก็มีจุดด้อยเช่นกัน และแม้นักปรัชญาทางการปกครอง ก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยกล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีจุดด้อยน้อยที่สุด
ลักษณะผู้ไม่มีเป็นธรรมาธิปไตยที่ดี
– ไม่ยึดมั่นในหลักธรรมความดี
– ไม่ยึดหลักเหตุผล
– ขาดการใช้ปัญญาพิจารณา
– ขาดความรู้ในหลักธรรม
– เชื่อ และศรัทธาในศาสนาที่ไร้เหตุผล







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน