รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

Image result for ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

                  ประธานาธิบดีอับราฮัม สินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงวาทะเกี่ยวกับคำว่า ประชาธิปไตยไว้ว่า “เป็นการปกครองชองประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” จากวาทะดังกล่าว เราอาจสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้อย่างกว้าง ๆ ว่า เป็นการปกครองที่ถือว่าบุคคลทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกฐานะและทุกอาชีพ มีเสรีภาพ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมืองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการปกครองและการดำเนินชีวิตของตนเอง
                  โดยทั่วไปถือว่า ประเทศกรีกเป็นต้นกำเนินการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มต้นจากการที่ไซโลมอน (594 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก่ไขรัฐธรรมนูญจัดตั้งศาลประชาชนขึ้นมาภายหลังคริสเธนิส (509 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญของนครรัฐกรีกอีก ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น และในยุคต่อมาเมื่อ 461 ปีก่อน ค.ศ. เบริคลัส ได้แก้ไขลักษณะการเมืองการปกครองของนครรัฐให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น ชาวกรีกทุกคนสามารถวิจารณ์การบบริหารงานของผู้ปกครองนครรัฐได้โดยไม่ถือเป็นความผิด การตัดสินใจกระทำการใดใช้วิธีลงมติแล้วทำตามเสียงข้างมาก ราชการนครรัฐถือเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมืองสนในและกระทำก่อนเรื่องส่วนตัว บุคคลทุกคนไม่ว่าจะมีตำแหน่ง ฐานะสูงส่งเพียงไรก็สามารถออกเสียงได้เพียง 1 เสียงเท่าเทียมกับสามัญชนทั่วไป เป็นต้น
ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้
1.  พระพุทธเจ้าประทานความเป็นใหญ่แก่สงฆ์ เมื่อมีผู้มาขอบวชเพิ่มจำนวนมากขึ้น พระพุทธเจ้าทรงเลิกการประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง ทรงประทานความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์ดำเนินการอุปสมบทเอง โดยพระสงฆ์เป็นผู้คัดเลือกและสอบคุณสมบัติผู้มาขอบวชกันเองในการทำพิธีอุปสมบทนั้น พระสงฆ์ทั้งปวงต้องมีมติเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์ ถ้ามีการคัดค้านแม้เพียงหนึ่งเสียงถือว่าการอุปสมบทเป็นโมฆะ
2.  พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเคารพระสงฆ์ เมื่อประทานความเป็นใหญ่หรือความเป็นอธิปไตยให้แก่พระสงฆ์แล้ว พระองค์เองก็มิได้ทรงถือว่าเป็นพระศาสดาผู้คอยชี้ขาดบงการตรงกันข้ามพระองค์กลับเคารถมติสงฆ์ ดังพุทธวจนะตรัสยืนยันว่า “เมื่อใดสงฆ์เติบใหญ่ขึ้น เมื่อนั้นเราตถาคตก็เคารพสงฆ์” 
3.  พระสงฆ์โดยภาพรวมมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด สำคัญกว่าพระศาสดาในฐานปัจเจกชน จะเห็นได้จากการตรัสแนะนำนางประชาบดีโคตรมี ผู้นำอาหารมาถวาย พระองค์ให้ถวายพระสงฆ์แทน  และตรัสไว้ในที่อื่นว่า “การถวายทานแก่พระพุทธเจ้ามีผลสู้ถวายแก่พระสงฆ์ไม่ได้” 
4.  กิจกรรมของภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่นการประชุมทำอุโอสถสังฆกรรม (ประชุมฟังสวดปาติโมกข์ หรือสิกขาบท 227 ข้อ) ทุกกึ่งเดือน เพื่อตรวจสอบทบทวนการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ภิกษุผู้เป็นสมาชิกทุกรูปจะต้องเข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน แม้ผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว (ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาฟังก็ได้ เพราะพระอรหันต์สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ไม่จำเป็นต้องทบทวนศีลของตนก็ได้) ก็ต้องเข้าประชุม ทั้งนี้เพราะสังฆอาณา (อำนาจของสงฆ์) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเคารพ
5.  ในการตัดสินปัญหาที่มีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย ต้องมีการลงคะแนนเพื่อดูว่าเสียงข้างมากไปทางไหน ให้ตัดสินโดยถือเอาเสียงข้างมากนั้นเป็นข้อยุติ วิธีนี้เรียกว่า “เยภุยยสิกา”
6.  ภิกษุทุกรูปมีสิทธิในการเข้าประชุม มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทั้งในทางคัดค้านและในทางเห็นด้วย
7.  ภิกษุทุกรูปจะต้องเข้าประชุม ถ้าเข้าประชุมไม่ได้ เช่น อาพาธ จะต้องมอบฉันทะไปประกาศแก่สงฆ์ว่า ผู้นั้นผู้นี้มาประชุมไม่ได้ ขอบมอบฉันทะ คือ อนุมัติให้สงฆ์ทำการประชุมได้โดยความยินยอมของตน
8.  เมื่อการประชุมกำลังดำเนินไปอยู่ ถ้าภิกษุรูปได้รูปหนึ่งมีธุระด่วน เช่น สรีรกิจ (ขอไปถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ) จะลุกออกจากที่ประชุม ต้องให้ฉันทะ คือ อนุญาตให้สงฆ์ดำเนินการต่อไปได้โดยความยินยอมของต้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการพูดขึ้นภายหลังว่า สงฆ์ทำกรบางอย่างลงไปโดยภิกษุรูปนั้นรูปนี้ไม่เห็นด้วย
9.  ในกากระทำสังฆกรรมต่าง ๆ พระสงฆ์ยึดถือประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็ฯที่ตั้ง บนพื้นฐานของธรรมาธิปไตยถือความถูกต้องยุติธรรมเป็นหลัก พระพุทธเจ้ามิได้ใช้อำนาจในฐานะพระศาสดาเข้ามาแทรกแซง หรือชี้นำแต่ประการใด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 รหัส ส22161

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.2 การประเมินค่าและการตีความหลักฐาน