บทความ

ใบงานเรื่องวัฒนธรมม

ใบงานเรื่องวัฒนธรรม ( Culture ) 1. ความหมายและความสำคัญ ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................       2.  วัฒนธรรมกับปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 2.1...........................................................................................................................................................................................................................................................

ใบความรู้คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

รูปภาพ
คุณค่าของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรม   หมายถึง วิถีเเห่งการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้นๆในเเต่ละวัน เช่น การกิน การอยู่  การเเต่งกาย การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งวิถีชีวิตนั้น เริ่มจากการที่มีต้นเเบบ อาจจะเป็นตัวบุคคลเเล้วมีคนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเเละปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยสิ่งนั้นๆต้องเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย ตราบชั่วลูกหลาน วัฒนธรรม เเบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ   1. วัฒนธรรมทางภาษา   ซึ่งก็หมายถึงสำเนียงการพูด ภาษาพูดรวมถึงการเบียนด้วย 2. วัฒนธรรมทางวัตถุ   ซึ่งก็คือยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก สบายให้กับชีวิตประจำวันนั่นเอง 3. วัฒนธรรมทางจิตใจ   เช่น ศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม จริยธรรม ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ 4. วัฒนธรรมทางจารีตเเละขนบธรรมเนียมประเพณี   เช่น การทักทายด้วยการไหว้ มารยาทการกิน การเดิน  การเเต่งกาย เป็นต้น 5. วัฒนธรรมทางสุนทียะ   ได้เเก่ ศิลปะสาขาต่างๆ ที่มีความไพเราะ ความสวยงาม เช่น นาฏศิลป์ ดนตรี ไทย จิตรกรรม การเเสดงต่างๆ เป็นต้น คุณค่าทางวัฒนธรรมไทย 1. ความรักความผูกพันในครอบครัว     

ใบงานที่ 7 ภูมิภาคเอเชียใต้

ใบงานที่ ๗ เรื่อง ภูมิภาคเอเชียใต้ ชื่อ … ......................................นามสกุล......................................................... เลขที่........ ห้อง ม. 2/… คำชี้แจง       ให้นักเรียนตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนด ตอนที่ 1      อินเดียและปากีสถานภายใต้การปกครองของอังกฤษ   ให้นักเรียนเติมข้อความลงในช่องว่างให้ได้ข้อความสมบูรณ์ครบถ้วน    1. อินเดียและปากีสถานเคยเป็นดินแดนเดียวกันในระยะที่ปกครองโดย                             2. ชนกลุ่มน้อยที่เรียกร้องเพื่อแยกตัวเองเป็นอิสระจากอินเดียคือ                          3. ชาวมุสลิมนับถือศาสนา   อิสลาม ชาวอินเดียนับถือศาสนา                                       4. ชาวมุสลิมนับถือพระเจ้าองค์เดียวชื่อว่า                                                            5.   ชาวฮินดูนับถือพระเจ้าหลายองค์มีชื่อว่า                                                           6. ระบบวรรณะมีผลต่อสังคมอินเดียในเรื่อง                                                          7. ปัญหาระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดู คือ         
รูปภาพ
ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียใต้ เป็นภูมิภาคของ ทวีปเอเชีย   และเป็นที่ตั้งของ ประเทศอินเดีย   ปากีสถาน   บังคลาเทศ   ศรีลังกา   เนปาล   ภูฏาน   และ มัลดีฟส์   มีพื้นที่กว้าง 4 , 480 , 000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า   อนุทวีปอินเดีย   ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ ( The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของ ประเทศอัฟกานิสถาน   ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.  รัฐในเขตเทือกเขา หิมาลัย   ได้แก่ ภาคเหนือของ อินเดีย ,  เนปาล ,  ภูฏาน ,  บังกลาเทศ 2.   ประเทศหมู่เกาะใน มหาสมุทรอินเดีย   ได้แก่   ศรีลังกา และ มัลดีฟส์ 3. ภาคใต้ของ อินเดีย และ ประเทศปากีสถาน เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งห

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.2 เรื่อง พระเจ้าพิมพิสาร

รูปภาพ
พระเจ้าพิมพิสาร               เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อกรุงราชคฤห์ มีพระมเหสีทรงพระนามว่า เวเทหิ มีพระโอรส ๑ พระองค์ทรงพระนามว่า อชาตศัตรูเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกบรรพชา ได้เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ แคว้นมคธ ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าว ได้เสด็จไปพบ ทรงพอพระทัยในบุคลิกลักษณะของพระสิทธัตถะเป็นอย่างมาก และได้ทูลเชิญให้ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ ซึ่งพระสิทธัตถะ ได้ตอบปฏิเสธและชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายในการออกบวช พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ทรงขอร้องว่า เมื่อทรงสำเร็จธรรมที่ปรารถนาแล้วขอให้เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์เพื่อโปรดพระองค์บ้าง          เมื่อพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและได้ทรงเสด็จไปเผยแพร่ประกาศพระศาสนาแล้ว ได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ ได้ประทับอยู่ที่ ลัฏฐิวัน ชานเมืองราชคฤห์พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าว ได้เสด็จไปเฝ้าพร้อมกับข้าราชบริพารและชาวเมืองเป็นจำนวนมากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งข้าราชบริพารพร้อมชาวเมือง หลังจบพระธรรมเทศนาพระเจ้าพิมพิสารได้สำเร็จมรรคผลชั้นโสดาบันทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้าพระเจ้าพิม

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.2 เรื่องพระโมคคัลลานะ

รูปภาพ
พระมหาโมคคัลลานะ ที่มา -  ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่ : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย โพสท์ในกระทู้ธรรม อภิธรรมมูลนิธิ โดย : สมพร เทพสิทธา - 18/12/2001 09:53 พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์ พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพเป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกัน เบื่อชีวิตการครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวารไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพพาชก เรียนลัทธิของสัญชัยได้หมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสอนหมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสองมาณพยังไม่พอใจในคำสอนของสัญชัยปริพาชก เพราะไม่ใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์ที่สามารถชี้แนะแนวทางที่ดีกว่านี้ หากใครได้โมกขธรรม ก็ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ดวงตาเห็นธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง "พระคาถาเย ธัมมา" จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้

รายวิชาพระพุทธศาสนา ม.5 เรื่อง สาราณียธรรม 6 อธิปไตย 3

รูปภาพ
สาราณียธรรม 6 ที่มา http://thaihealthlife.com/สาราณียธรรม6, นรฤทธ์ิ สุทธิสังข์ (2555)อ้งถึงในเอกสารหลายฉบับ,อธิปไตย 3             สาราณียธรรม 6  หมายถึง ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ สาราณียธรรม 6 สำหรับฆราวาส 1. เมตตากายกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเช่น แสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง 2. เมตตาวจีกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ พูดกันด้วยเมตตา หมายถึง จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว 3. เมตตามโนกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก